คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ

วันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2556

                                   สรุปองค์ความรู้จากงานวิจัย

 

วิจัยเรื่อง : ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน


ปริญญานิพนธ์ : ของ ศศิพรรณ สำแดงเดช

 

ความมุ่งหมายของการวิจัย  :

1. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน ก่อนและหลังการทดลอง

2. เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน ก่อนและหลังการทดลอง

 

ความสำคัญของการวิจัย :   ผลของการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ จะเป็นแนวทางให้กับครูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาปฐมวัยได้ตระหนัก และเข้าใจถึงความสำคัญในการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยด้วยการทำกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน รวมทั้งเป็นแนวทางในการทำกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทานให้มี ความหมายและเกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย

 

ขอบเขตของการวิจัย : ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประชากรที่ใช้ในการวิจัยกลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นเด็กชาย-หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่  2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 ของโรงเรียนวัดไทร (ถาวรพรหมานุกูล)สำนักงานเขตจอมทอง สังกัดกรุงเทพมหานครจำนวน 5 ห้องเรียน จำนวน 175 คน

 
 
 

ตัวแปรที่ศึกษา :

1. ตัวแปรต้น ได้แก่ การได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน

2. ตัวแปรตาม ได้แก่ ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

 

นิยามศัพท์เฉพาะ :

1. เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กนักเรียนชายหญิง อายุ 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนวัดไทร(ถาวรพรหมานุกูล) สำนักงานเขตจอมทอง สังกัดกรุงเทพมหานคร

2. การจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน หมายถึง การที่เด็กได้ฟังนิทานที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์จนจบเรื่องโดยการเล่าเรื่องนั้นมีสื่อต่างๆ เช่น ภาพ หุ่นประกอบการเล่าเพื่อให้เด็กตั้งใจฟังนิทาน จากนั้นเด็กทำกิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์ซึ่งเน้นให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสในการสังเกต การจำแนกประเภทและการสื่อสาร โดยบรรยายผลการสังเกตซึ่งเป็นการฝึกฝนทักษะการสื่อสาร ในการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน สามารถจำแนกออกได้เป็น 3 ขั้นตอนคือ

2.1 ขั้นนำ การนำเข้าสู่การฟังนิทาน โดยใช้ คำคล้องจอง เพลงและเล่นเกม

2.2 ขั้นดำเนินการ การทดลองหลังการฟังนิทาน เด็กทำการทดลองด้วยตนเองและในบางครั้งเด็กกับครูทำการทดลองร่วมกัน

2.3 ขั้นสรุป เด็กมีความเข้าใจในกิจกรรมที่ทำและสามารถสื่อความหมาย การร่วมกันสรุปให้กลุ่มอื่นฟัง

3. ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง ความสามารถเบื้องต้นที่เป็นพื้นฐาน

ทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการประเมินทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์โดยใช้แบบประเมินที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น  3 ด้านซึ่ง ในการศึกษาครั้งนี้ ศึกษาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์  3 ด้านคือ

3.1 การสังเกต หมายถึง ความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 เข้าไปสัมผัส

โดยตรงกับวัตถุสิ่งแวดล้อม สามารถตอบข้อมูลหรือรายละเอียดของสิ่งต่างๆได้ อธิบายว่าสิ่งที่

สังเกตได้เป็นอย่างไร บอกความเหมือนความต่างว่าสิ่งที่สังเกตได้เป็นอย่างไร

3.2 การจำแนก หมายถึง ความสามารถในการเปรียบเทียบและบอกข้อแตกต่าง

ของคุณสมบัติ โดยมีเกณฑ์ในการจัดแบ่ง มี 3 ประการคือ ความเหมือน ความแตกต่างและความสัมพันธ์

3.3 การสื่อสาร หมายถึง ความสามารถในการนำข้อมูลที่ได้จากการสังเกต การทดลอง หรือจากแหล่งอื่นที่มีข้อมูลอยู่แล้วมาจัดทำใหม่โดยอาศัยวิธีการต่างๆ คือ การสังเกต การวัดการทดลอง และจากแหล่งอื่นๆ มาจัดกระทำเสียใหม่ โดยมุ่งสื่อให้ผู้อื่นเข้าใจความหมายได้ดีขึ้น

 


การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย :

1. แผนการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน

2. แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์


สรุปผลการศึกษาวิจัย :

1 เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทานมีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ อย่างมีนัยสำคัญที่ .01 และพบว่าทักษะด้านการสังเกต การจำแนก และการสื่อสารสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญที่ .01

2 ก่อนการทดลองการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน โดยรวมและรายด้าน คือ ด้านการสังเกต ด้านการจำแนก และด้านการสื่อสาร อยู่ในระดับพอใช้ หลังการจัดกิจกรรมหลังการฟังนิทานโดยรวมอยู่ในระดับดีและรายด้านคือ ด้านการสังเกตอยู่ในระดับดีมาก ด้านการจำแนกและการสื่อสารอยู่ในระดับดี

 

ข้อเสนอแนะในการทำการวิจัย :

1. ควรมีการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างผลการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังกับการจัดกิจกรรมในรูปแบบอื่นที่มีผลต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย เพื่อนำผลที่ได้มาเป็นแนวทางในการพัฒนาการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย

2. ควรมีการศึกษาในลักษณะเดียวกันกับการสร้างกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทานสำหรับการพัฒนาทักษะพื้นฐานด้านอื่นๆ ให้กับเด็กปฐมวัย เช่น ทักษะทางภาษา การคิดเชิงเหตุผลการคิดแก้ปัญหา เป็นต้น

3. ควรมีการศึกษาเปรียบเทียบการสร้างนิทานแบบมีจุดประสงค์ โดยเด็กเป็นผู้แต่ง เพื่อศึกษาพัฒนาทักษะเชิงบูรณาการ เช่น ภาษาสังคมกับวิทยาศาสตร์ ภาษากับวิทยาศาสตร์ เป็นต้น

 

 

วันพฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2556

วันจันทร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2556

Week 17

Monday   30   September 2013
   

      วันนี้เป็นวันสุดท้ายของการเรียนการสอนแล้ว อาจารย์ได้สรุปความรู้ที่ได้เรียนมาตลอดทั้งเทอม และครบทวนเนื้อหา  มีการนำใบความรู้มาประกอบการอธิบาย ทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น และสุดท้ายได้ให้นักศึกษาที่ยังค้างส่งงานต่างๆได้มีโอกาสส่งในวันนี้  ของดิฉันก็ได้ทำสือของเล่นมาส่ง ซึ่งต้องมีการแก้ไขชิ้นงานเพิ่มเติม 




 

 

สื่อที่ต้องแก้ไขเพิ่มเติม

 

 
 
 
 

 
สื่อที่แก้ไขเสร็จสมบรูณ์แล้ว
 


 
 
นำเสนอสื่อของเพื่อนๆ
 
 
 
      ในวันนี้ได้รับความรู้  และได้เห็นสื่อการสอนที่น่าสนใจแปลกใหม่ของเพื่อนๆซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในอนาคตต่อไป ซึ่งสื่อของดิฉันที่ต้องแก้ไขเพราะ ทำสือแล้วเก็บไว้ในกล่องเรียบร้อย แล้วใครจะมาเล่น เลยต้องทำเพิ่มเติม ทำเป็นที่เก็บสื่อที่สะดวกในการเล่น เล่นเสร็จแล้ว ทำให้เก็บได้ง่ายๆ ก็ต้องขอขอบคุณอาจารย์นะคะที่ให้คำแนะนำ และให้โอกาสแก้ไขชิ้นงานในครั้งนี้ ขอบคุณค่ะ

วันศุกร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2556

Week 16

Monday  23    September 2013
 
วันนี้กลุ่มของดิฉันได้สาธิตการทำแกงจืด  โดยทำตามแผนที่เขียนไว้ในสัปดาห์ก่อน





อุปกรณ์ในการประกอบอาหาร

 


                                                                      รอน้ำเดือด




 
ขออาสาสมัครออกมาช่วยทำอาหาร
 
 

 
แกงจืดพร้อมรับประทาน
 
 
 
 
 

สาระนารู้

 
 
 วิธีทำเเกงจืดให้อร่อย
 
 
แกงจืดเต้าหู้หมูสับ เมนูที่แสนจะธรรมด๊าาาา ธรรมดา ที่อุดมไปด้วยสารอาหารครบถ้วน ที่ทุกๆคนคงทำได้ไม่ยาก แต่จะให้รสชาติกลมกล่อมถูกปากถูกใจคนในครอบครัวทำได้อย่างไร เรามีเคล็ดลับมาฝากค่ะ มาเริ่มลงมือทำกัน

ส่วนประกอบ

  • หมูสับ ½ ถ้วยตวง
  • วุ้นเส้นแช่น้ำ หั่นเป็นท่อนยาว 1 นิ้ว ½ ถ้วยตวง
  • คนอร์อร่อยชัวร์รสหมู ½ ช้อนชา
  • แครอทสับหยาบ 1 ช้อนโต๊ะ
  • รากผักชีบุบ 1 ราก
  • คนอร์ซุปหมูก้อน 2 ก้อน
  • ฟักหั่นเป็นชิ้น พอดีคำ 3 ถ้วยตวง (350 กรัม)
  • น้ำเปล่า 4 ถ้วยตวง
  • ต้นหอม และผักชีซอยเป็นท่อนๆ 2 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ

  • นำหมูสับ วุ้นเส้น แครอทสับหมักกับคนอร์ผงปรุงรสหมูให้เข้ากัน แล้วพักไว้
  • ตั้งหม้อต้มน้ำบนไฟกลางจนเดือด ใส่รากผักชี และคนอร์ซุปหมูก้อนลงไป คนให้ละลาย
  • ใส่ฟักลงไป ต้มด้วยไฟอ่อนประมาณ 8-10 นาที ใส่หมูสับที่หมักไว้โดยปั้นเป็นก้อนๆ หากมีฟองให้ช้อนฟองออก
  • ต้มต่อจนส่วนผสมทั้งหมดสุก (ประมาณ 2 นาที) เมื่อฟักสุกจะเปลื่ยนเป็นสีใส ยกออกจากเตา จัดใส่ชาม โรยหน้าด้วยต้นหอม ผักชีตามชอบพร้อมเสิร์ฟ 

           กิจกรรมในวันนี้ได้รับความรู้จากอาจารย์  วิธีการสอนการพูดคุยให้เด็กเข้าใจได้ง่ายๆ และได้ปฏิบัติกิจกรรมในห้องเรียนจริงๆทำให้มีความรู้ และสนุกสนาน สาามารถพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันระหว่างอาจารย์กับนักศึกษาด้วยกัน  บรรยากาศในห้องวันนี้เพื่อนๆให้ความสนใจในการประกอบอาหารดีมาก

 



Week 15


Monday  16  September 2013
   

วันนี้ได้เจออาจารย์คนใหม่รู้สึกตื่นเต้นเลยที่เดียว  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน  น่ารักมากเลยแถมยังใจดี  วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม   มารับอุปกรณ์มีดีงนี้
 1. กระดาษสีแผ่น
 2. สีเมจิ
   จากนั้นอาจารย์วางข้อตกลงดังนี้
แผ่นที่ 1. ให้เขียนอะไรก็ได้เกี่ยวกับอาหาร

แผ่นที่ 1  Cooking


แผ่นที่ 2. ให้แต่ละกลุ่มเลือกเมนูอาหารที่สนใจ



เลือกเมนูอาหาร
แผ่นที่ 3. เขียนวิธีการทำแกงจืด

วิธีการทำแกงจืด
 

แผ่นที่ 4. เขียนแผนการจัดกิจกรรม


 
                                                                       แผนการจัดกิจกรรม

สำหรับกิจกรรมในครั้งนี้ ได้รับความรู้ในการเรียนแผนการจัดกิจกรรม  ขั้นสึดท้ายอาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน  และเลือกเมนูอาหารที่จะทำจริงๆในสัปดาห์ถัดไป  ซึ่งกลุ่มที่ถูกเลือก คือ กลุ่มของดิฉันเอง เป็นเมนูแกงจืด  ซึ่งให้เตรียมวัสดุอุปกรณ์มาประกอบอาหารในสัปดาห์หน้า
  วันนี้เพื่อนๆตั้งใจเรียน และทำงานกลุ่มดีมาก ช่วยกันคิดช่วยกันเขียนแผนการจัดกิจกรรม

 

วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2556

Week 14


Monday  15   September 2013

วันนี้อาจารย์ใช้สอนชดเชยของสัปดาห์ที่ได้ขาดไป  วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาออกมานำเสนอของเล่นเข้ามุม  และนำเสนองานสำหรับคนที่ยังนำเสนอไม่ครบ ทั้งของเล่น   การทดลอง และของเล่นเข้ามุม