คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ

วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Week  11

Monday  26   August 2013

อาจารย์ในนำเสนอ การทดลองวิทยาศาสตร์ต่อจากสัปดาห์ก่อน




วันจันทร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Week  10

Monday  19   August 2013

วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนอ การทดลองวิทยาศาสตร์  เป็นกลุ่ม ซึ่งกลุ่มของดิฉันได้นำเสนอ  เรื่อง  "  ไฟฟ้าสถิต " มีสมาชิก ดังนี้  1. นางสาวสินีนาฏ แสงแพง  2. นางสาวสุภัตรา  ติดยงค์ และดิฉันเอง


ความเป็นมาและความสำคัญของประเด็น
ไฟฟ้าสถิตย์ หมายถึง ไฟฟ้าที่เกิดขึ้นเมื่อวัตถุสองชนิดที่ต่างกันมาสัมผัสหรือเสียดสีกัน ( Physical Contact ) แล้วแยกออกจากกัน ไฟฟ้าสถิตย์ไม่มีตัวตน แต่เป็นแรงหรือคุณสมบัติอยู่ในตัวของมันเองตามธรรมชาติแล้วประจุไฟฟ้าจะพยายามอยู่ในลักษณะอาการสมดุลย์ ดังนั้นผู้จัดทำจึงได้เสนอโครงงาน กังหันไฟฟ้าสถิตย์ เพื่อเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับไฟฟ้าสถิต ซึ่งกังหันไฟฟ้าสถิตย์เป็นอุปกรณ์ที่แสดงถึงพลังของไฟฟ้าสถิตย์ ที่หลักแหลมตัวหนึ่ง แทนที่จะใช้ลูกโป่งดูดเศษกระดาษเล่นที่เห็นอยู่ทั่วไป

นอกจากการเรียนรู้เรื่องไฟฟ้าสถิตย์แล้ว เรายังจะเข้าใจเรื่องความฝืด แถมอีกเรื่องหนึ่งด้วย ดาวกระดาษที่วางอยู่บนปลายดินสอที่แทบจะไม่มีความฝืดนั้น ทำให้เราสามารถใช้แรงผลักที่เกิดจากไฟฟ้าสถิตย์ เพื่อหมุนดาวกระดาษไปรอบๆ ได้
  ถ้าลูกโป่งที่ถูกับผม ทำให้ดาวกระดาษให้โดนผลักให้หมุนไปรอบๆ ดังนั้น แรงที่เกิดขึ้นจึงเป็นไฟฟ้าสถิตย์ที่เกิดจากการเสียดสีกันของลูกโป่งที่ถูกับผม

  ตัวแปรในการทดลอง
ตัวแปรต้น : ลูกโป่ง
ตัวแปรตาม : กังหันกระดาษ
ตัวแปรควบคุม : ชนิดของวัสดุที่นำลูกโป่งไปถู คือ ผม, ผ้าสักหลาดหรือผ้าขนสัตว์,กระดาษ

วิธีดำเนินการ
 
                 วัสดุอุปกรณ์
1.กระดาษขนาด A4 - 1 แผ่น : ใช้แล้วก็ได้
2.กรรไกร : เอาไว้ตัดกระดาษ
3.ลูกโป่ง : สีอะไรก็ได้
4.ดินสอ : เหลาให้ปลายแหลมๆ
5.ดินน้ำมัน : ใช้ก้อนเล็กๆ ก้อนเดียวก็พอครับ

                แนวการศึกษาค้นคว้า
1. พับครึ่งกระดาษ A4 จำนวน 2 ครั้ง
 
 
 

     2. ใช้กรรไกรตัดกระดาษที่พับแล้ว เป็นมุมแหลม เมื่อคลี่ออก จะได้เป็นรูปดาวสี่แฉก





 3. ปักดินสอลงบนก้อนดินน้ำมัน ให้ปลายแหลมชี้ขึ้นข้างบน
4.วางดาวกระดาษบนปลายดินสอ เนื่องจากปลายดินสอมีพื้นที่น้อย จะมีแรงเสียดทานกับ กระดาษน้อย ทำให้ดาวกระดาษสามารถหมุนไปรอบๆ ได้อย่างง่ายดาย

5. เป่าลูกโป่ง ไม่ต้องให้ใหญ่มากก็ได้
6.ใช้มือจับลูกโป่ง ถูกับผมสัก 5 ถึง 10 ครั้ง แล้วนำลูกโป่งมาหมุนรอบดาวกระดาษอย่างช้าๆ ระวังอย่าให้ลูกโป่งแตะดาวกระดาษ

7. นำลูกโป่งไปถูกับผ้าสักหลาดหรือผ้าขนสัตว์ และทำเช่นเดียวกับ ข้อ 6 สังเกตผลที่ได้
8. นำลูกโป่งไปถูกับถุงพลาสติก และทำเช่นเดียวกับ ข้อ 6 สังเกตผลที่ได้
 
 
 
สรุปผลการทดลอง

                         1. ลูกโป่งจะมีประจุลบเมื่อนำไปถูกับวัสดุต่างๆ และเมื่อนำพไปวางใกล้กับกังหัน จึงเกิดการผลัก และการดึงดูดกันขึ้น
2. เนื่องจาก ไฟฟ้าที่เกิดขึ้นเมื่อวัตถุสองชนิดที่ต่างกันมาสัมผัสหรือเสียดสีกัน ดังนั้นแรงที่เคลื่อนที่นั้นจึงเกิดจากไฟฟ้าสถิตย์


วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Week  9


Monday  12  August   2013


+ หมายเหตุ + วันแม่แห่งชาติ งดการเรียนการสอน


 
วันแม่แห่งชาติทุกวันที่ 12 สิงหาคม ของทุกปี
วันแม่แห่งชาติ 2556
วันแม่แห่งชาติปี 2556 นี้ตรงกับวันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม 2556 และเป็นปีมหามงคลยิ่งเนื่องจากสมเด็จพระบรมราชินีนารถ ทรงมีพระชนมายุครบ 81 พรรษา

ร่วมลงนามถวายพระพร เนื่องในวโรกาสมหามงคล 81 พรรษาราชินี

วันแม่แห่งชาติ หรือที่คนไทยทั่วไปนิยมเรียกกันสั้น ๆ ว่า วันแม่ ทุกคนรับทราบและซาบซึ้งกันดี เนื่องจากวันสำคัญนี้ตรงกับวันเฉลิมพระชนมพรรษาของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถคือ วันที่ 12 สิงหาคม อันเป็นวันคล้ายวันเสด็จพระราชสมภพและถือว่าเป็นวันแม่ของชาติด้วย
แต่เดิมนั้น วันแม่ของชาติได้กำหนดเอาไว้วันที่ 15 เมษายนของทุก ๆ ปี ทั้งนี้เป็นไปตามมติของคณะรัฐมนตรีประกาศรับรอง เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2493 ซึ่งได้พิจารณาเห็นว่าการจัดงานวันแม่ของสำนักวัฒนธรรมฝ่ายหญิง สภาวัฒนธรรมแห่งชาติผู้รับมอบหมายให้จัดงาน วันแม่ มาตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน พ.ศ.2493 เป็นครั้งแรกเป็นต้นมานั้นได้รับความสำเร็จด้วยดี ด้วยประชาชนให้การสนับสนุนจนสามารถขยายขอบข่ายของงานให้กว้างขวางออกไป มีการจัดพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา การประกวดคำขวัญวันแม่ การประกวดแม่ของชาติ เพื่อให้เกียรติและตระหนักในความสำคัญของแม่ และเพื่อเพิ่มความสำคัญของวันแม่ให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป ด้วยเหตุนี้งานวันแม่จึงเป็นวันแม่ประจำปีของชาติตามประกาศของรัฐบาลฯพณฯ จอมพล ป.พิบูลสงคราม แต่โดยทั่วไปเรียกกันว่าวันแม่ของชาติ
ต่อมาถึง พ.ศ.2519 ทางราชการได้เปลี่ยนใหม่ให้ถือเอาวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ คือ วันที่ 12 สิงหาคม เป็นวันแม่แห่งชาติ เริ่มในปี พ.ศ.2519 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน
วันแม่แห่งชาติ เป็นวันที่ทางราชการกำหนดในวันที่ 12 สิงหาคม ของทุกปี และถือว่าเป็นวันสำคัญยิ่งของปวงชนชาวไทย โดยกำหนดให้ถือว่า “ดอกมะลิ” สีขาวบริสุทธิ์เป็นสัญลักษณ์ของความดีงามของแม่ผู้ให้กำเนิดแก่เรา
กิจกรรมต่าง ๆ ที่ควรปฏิบัติในวันแม่แห่งชาติ
  1. ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือน
  2. ?จัดกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับวันแม่ เช่น การจัดนิทรรศการ
  3. จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ทำบุญใส่บาตรอุทิศส่วนกุศล เพื่อรำลึกถึงพระคุณของแม่
  4. นำพวงมาลัยดอกมะลิไปกราบขอพรจากแม่

วันอังคารที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Week  8

Monday  5  August  2013

หมายเหตุ :  อยู่ในช่วงระหว่างการสอบกลางภาค


การสอบและผลการสอบ
 
 
การวัดและประเมินผลการศึกษาชุดวิชาปกติ


การวัดและประเมินผลการศึกษาชุดวิชาปกติให้ใช้อักษรระดับคะแนน ดังนี้


อักษรระดับคะแนน

คะแนนต่อ 1 หน่วยกิต

A

4

B+

3.5

B

3

C+

2.5

C

2

D

1

F

0



 



นักศึกษาที่ได้อักษรระดับคะแนน D และ F ถือว่าสอบไม่ผ่าน และจะต้องลงทะเบียนเรียนใหม่ในชุดวิชานั้น


ผลการศึกษาอาจแสดงได้ด้วยสัญลักษณ์อื่นดังต่อไปนี้


I (Incomplete) การประเมินผลไม่สมบูรณ์ เนื่องจากไม่ได้ดำเนินกิจกรรมครบตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตร


P (Passed) สอบผ่านสำหรับการประเมินผลที่ไม่คิดคะแนน


U (Unsatisfactory) สอบไม่ผ่านสำหรับการประเมินผลที่ไม่คิดคะแนน


W (Withdrawn) การยกเลิก ใช้ในกรณีที่นักศึกษาขอถอนชุดวิชาที่ลงทะเบียนเรียนไว้แล้วภายในระยะเวลาที่มหาวิทยาลัยกำหนด


การวัดและประเมินผลการศึกษาชุดวิชาวิทยานิพนธ์ และชุดวิชาการศึกษาค้นคว้าอิสระ


การสอบวิทยานิพนธ์ และชุดวิชาการศึกษาค้นคว้าอิสระใช้เกณฑ์ตัดสินผลสอบด้วย


สัญลักษณ์ P และ U


P (Passed) หมายถึง สอบผ่านสำหรับการประเมินผลที่ไม่คิดคะแนน


U (Unsatisfactory) หมายถึง สอบไม่ผ่านสำหรับการประเมินผลที่ไม่คิดคะแนน


การบันทึกผลสอบลงในใบรายงานผลการศึกษา กรณีที่นักศึกษาได้รับผล


สอบเป็น D หรือ F หรือ U หรือ I การบันทึกผลการสอบในใบรายงานผลการศึกษา จะบันทึกผลการสอบในภาคการศึกษาหลังสุดตามที่เป็นจริง ส่วนผลการสอบชุดวิชาในภาคการศึกษาที่ผ่านมา ซึ่งได้ผลการสอบเป็น D หรือ F หรือ U หรือ I จะบันทึกเป็น N (Not Graded and Credited = ไม่นับคะแนน) และไม่นำไปคำนวณคะแนนเฉลี่ยประจำภาคการศึกษา (GPA) และคะแนนเฉลี่ยสะสม (GPAX) ซึ่งจะปรากฏในใบรายงานผลการศึกษา