คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ

วันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2556

                                   สรุปองค์ความรู้จากงานวิจัย

 

วิจัยเรื่อง : ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน


ปริญญานิพนธ์ : ของ ศศิพรรณ สำแดงเดช

 

ความมุ่งหมายของการวิจัย  :

1. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน ก่อนและหลังการทดลอง

2. เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน ก่อนและหลังการทดลอง

 

ความสำคัญของการวิจัย :   ผลของการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ จะเป็นแนวทางให้กับครูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาปฐมวัยได้ตระหนัก และเข้าใจถึงความสำคัญในการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยด้วยการทำกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน รวมทั้งเป็นแนวทางในการทำกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทานให้มี ความหมายและเกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย

 

ขอบเขตของการวิจัย : ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประชากรที่ใช้ในการวิจัยกลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นเด็กชาย-หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่  2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 ของโรงเรียนวัดไทร (ถาวรพรหมานุกูล)สำนักงานเขตจอมทอง สังกัดกรุงเทพมหานครจำนวน 5 ห้องเรียน จำนวน 175 คน

 
 
 

ตัวแปรที่ศึกษา :

1. ตัวแปรต้น ได้แก่ การได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน

2. ตัวแปรตาม ได้แก่ ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

 

นิยามศัพท์เฉพาะ :

1. เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กนักเรียนชายหญิง อายุ 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนวัดไทร(ถาวรพรหมานุกูล) สำนักงานเขตจอมทอง สังกัดกรุงเทพมหานคร

2. การจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน หมายถึง การที่เด็กได้ฟังนิทานที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์จนจบเรื่องโดยการเล่าเรื่องนั้นมีสื่อต่างๆ เช่น ภาพ หุ่นประกอบการเล่าเพื่อให้เด็กตั้งใจฟังนิทาน จากนั้นเด็กทำกิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์ซึ่งเน้นให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสในการสังเกต การจำแนกประเภทและการสื่อสาร โดยบรรยายผลการสังเกตซึ่งเป็นการฝึกฝนทักษะการสื่อสาร ในการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน สามารถจำแนกออกได้เป็น 3 ขั้นตอนคือ

2.1 ขั้นนำ การนำเข้าสู่การฟังนิทาน โดยใช้ คำคล้องจอง เพลงและเล่นเกม

2.2 ขั้นดำเนินการ การทดลองหลังการฟังนิทาน เด็กทำการทดลองด้วยตนเองและในบางครั้งเด็กกับครูทำการทดลองร่วมกัน

2.3 ขั้นสรุป เด็กมีความเข้าใจในกิจกรรมที่ทำและสามารถสื่อความหมาย การร่วมกันสรุปให้กลุ่มอื่นฟัง

3. ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง ความสามารถเบื้องต้นที่เป็นพื้นฐาน

ทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการประเมินทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์โดยใช้แบบประเมินที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น  3 ด้านซึ่ง ในการศึกษาครั้งนี้ ศึกษาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์  3 ด้านคือ

3.1 การสังเกต หมายถึง ความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 เข้าไปสัมผัส

โดยตรงกับวัตถุสิ่งแวดล้อม สามารถตอบข้อมูลหรือรายละเอียดของสิ่งต่างๆได้ อธิบายว่าสิ่งที่

สังเกตได้เป็นอย่างไร บอกความเหมือนความต่างว่าสิ่งที่สังเกตได้เป็นอย่างไร

3.2 การจำแนก หมายถึง ความสามารถในการเปรียบเทียบและบอกข้อแตกต่าง

ของคุณสมบัติ โดยมีเกณฑ์ในการจัดแบ่ง มี 3 ประการคือ ความเหมือน ความแตกต่างและความสัมพันธ์

3.3 การสื่อสาร หมายถึง ความสามารถในการนำข้อมูลที่ได้จากการสังเกต การทดลอง หรือจากแหล่งอื่นที่มีข้อมูลอยู่แล้วมาจัดทำใหม่โดยอาศัยวิธีการต่างๆ คือ การสังเกต การวัดการทดลอง และจากแหล่งอื่นๆ มาจัดกระทำเสียใหม่ โดยมุ่งสื่อให้ผู้อื่นเข้าใจความหมายได้ดีขึ้น

 


การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย :

1. แผนการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน

2. แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์


สรุปผลการศึกษาวิจัย :

1 เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทานมีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ อย่างมีนัยสำคัญที่ .01 และพบว่าทักษะด้านการสังเกต การจำแนก และการสื่อสารสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญที่ .01

2 ก่อนการทดลองการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน โดยรวมและรายด้าน คือ ด้านการสังเกต ด้านการจำแนก และด้านการสื่อสาร อยู่ในระดับพอใช้ หลังการจัดกิจกรรมหลังการฟังนิทานโดยรวมอยู่ในระดับดีและรายด้านคือ ด้านการสังเกตอยู่ในระดับดีมาก ด้านการจำแนกและการสื่อสารอยู่ในระดับดี

 

ข้อเสนอแนะในการทำการวิจัย :

1. ควรมีการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างผลการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังกับการจัดกิจกรรมในรูปแบบอื่นที่มีผลต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย เพื่อนำผลที่ได้มาเป็นแนวทางในการพัฒนาการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย

2. ควรมีการศึกษาในลักษณะเดียวกันกับการสร้างกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทานสำหรับการพัฒนาทักษะพื้นฐานด้านอื่นๆ ให้กับเด็กปฐมวัย เช่น ทักษะทางภาษา การคิดเชิงเหตุผลการคิดแก้ปัญหา เป็นต้น

3. ควรมีการศึกษาเปรียบเทียบการสร้างนิทานแบบมีจุดประสงค์ โดยเด็กเป็นผู้แต่ง เพื่อศึกษาพัฒนาทักษะเชิงบูรณาการ เช่น ภาษาสังคมกับวิทยาศาสตร์ ภาษากับวิทยาศาสตร์ เป็นต้น

 

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น